ตารางการเลือกใช้สายไฟ

ขนาดกระแสของสายไฟฟ้าทองแดงหุ้มฉนวนครอสลิ้งค์โพลีเอททีลีน อุณหภูมิตัวนำ

90 'C ขนาดแรงดัน 600 V อุณหภูมิโดยรอบ 40 'C ( สำหรับเดินสายในอากาศ) และ 30 'C ( สำหรับการเดินสายใต้ดิน)

 

.
 
สายไฟฟ้าวงจรมอเตอร์

สายไฟฟ้าสำหรับมอเตอร์


A.สายไฟฟ้าสำหรับมอเตอร์ตัวเดียว
       1.สายไฟฟ้าวงจรย่อยที่จ่ายให้มอเตอร์ตัวเดียว ต้องมีขนาดกระแสไม่ต่ำกว่า 125 เปอร์เซ็นต์ ของกระแสพิกัดโหลดเต็มที่ (Full load Current) ของมอเตอร์ ยกเว้นมอเตอร์หลายความเร็ว (Multispeed Motor) ซึ่งแต่ละความเร็วมีพิกัดกระแสต่างกัน ให้ใช้ค่าพิกัดกระแสสูงสุด ซึ่งดูได้จาก แผ่นป้าย (Name Plate)
       2. สายไฟฟ้าของวงจรมอเตอร์ ต้องมีขนาดไม่ต่ำกว่า 1.5 ตร.ม สำหรับการกำหนดขนาดสายไฟฟ้าจะต้องดูชนิดและวิธีการเดินสายประกอบด้วย เช่น เดินในท่อหรือเดินลอยในอากาศหรือท่อโลหะ เป็นต้น

ตัวอย่างเช่น จงกำหนดขนาดของกระแสไฟฟ้าสำหรับมอเตอร์เหนี่ยวนำ 3 เฟส ขนาด 10 แรงม้า 380 โวลท์ 17แอมแปร์
             
                     ขนาดกระแสของสายไฟฟ้าต้องไม่ต่ำกว่า 125 เปอร์เซ็นต์ของพิกัดกระแสโหลดเต็มที่
                                          =          1.25 ×17
                                          =          21.25 A
                     ขนาดกระแสของสายไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า 22 A
.

 
การกำหนดขนาดเครื่องป้องกันการลัดวงจรสายป้อน
การกำหนดขนาดเบรคเกอร์

การกำหนดขนาดเครื่องป้องกันการลัดวงจรสายป้อน
       ขนาดของฟิวส์ หรือเซอร์กิตเบรคเกอร์ที่ใช้เป็นเครื่องป้องกันการลัดวงจร ของมอเตอร์ตัวที่ใหญ่ที่สุด
รวมกับกระแสโหลดเต็มที่ของมอเตอร์ตัวอื่นๆที่ต่อในวงจรเดียวกัน

ตัวอย่างที่ เช่น จากข้อมูลมอเตอร์ 4 ตัว

       มอเตอร์ M1 5 แรงม้า 9.2 แอมแปร์ รหัสอักษร B
       มอเตอร์ M2 7.5 แรงม้า 13 แอมแปร์ รหัสอักษร E
       มอเตอร์M3 10 แรงม้า 17 แอมแปร์ รหัสอักษร F
       มอเตอร์M4 15 แรงม้า 25 แอมแปร์ ไม่มีรหัสอักษร

 

ถ้าต้องการใช้เซอร์กิตเบรคเกอร์ เป็นเครื่องป้องกันการลัดวงจร จงกำหนดขนาดเซอร์กิตเบรคเกอร์ของมอเตอร์แต่ละตัวและเซอร์กิตเบรกเกอร์ของสายป้อน

       
วิธีทำ
     1. ขนาดเซอร์กิตเบรคเกอร์ของมอเตอร์แต่ละตัวพิจารณาตารง 


             - M1 รหัสอักษร B ไม่เกิน 200 % ของกระแสโหลดเต็มที่
                      = 200 ×9.2      =   18.4A
                                  100
                 เลือกใช้เซอร์กิตเบรคเกอร์ขนาด 20 แอมแปร์

             - M2 รหัสอักษร E ไม่เกิน 200 % ของกระแสโหลดเต็มที่
                      = 200 × 13    =   26A
                                  100
                 เลือกใช้เซอร์กิตเบรคเกอร์ขนาด 30 แอมแปร์

             - M3 รหัสอักษร F ไม่เกิน 250 % ของกระแสโหลดเต็มที่
                      = 250 × 17    =  42.5A
                                  100
                 เลือกใช้เซอร์กิตเบรคเกอร์ขนาด 40 แอมแปร์หรือ 50 แอมแปร์
            
             - M4 ไม่มีรหัสอักษรไม่เกิน 250 % ของกระแสโหลดเต็มที่
                      = 250 × 25   =  62.5A
                                  100
                 เลือกใช้เซอร์กิตเบรคเกอร์ขนาด 70 แอมแปร์    

      2.ขนาดเซอร์กิตของสายป้อน
                      = 70 +17+13+9.2 = 109.2
                 เลือกใช้เซอร์กิตเบรคเกอร์ขนาด 100 แอมแปร์

 

 
การเลือกขนาดอินเวอร์เตอร์ให้เหมาะกับมอเตอร์

        Inverter เป็นอุปกรณ์ทางไฟฟ้า ที่ใช้สำหรับเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรง เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ โดย ไฟฟ้ากระแสตรงที่จะ นำมาทำการเปลี่ยนนั้นมาจาก แบตเตอรี่ เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง หรือแผงโซล่าเซลล์ก็ได้ ไฟฟ้ากระแสสลับที่ได้มานั้น จะเหมือนกับไฟฟ้าที่ได้จากปลั๊กไฟ ตามผนังบ้านทุกอย่าง โดย inverter ทำให้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น มอเตอร์, พัดลม หรืออุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ  สามารถใช้ได้กับไฟฟ้ากระแสตรง

 

        Motor   มอเตอร์เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่ใช้ในการแปลงพลังงานไฟฟ้า ไปเป็นพลังงานกล โดยนำพลังงานที่ได้นี้ไปทำ การขับเคลื่อนเครื่องจักร อื่นๆต่อไป ความเร็วของมอเตอร์ สามารถกำหนดได้โดย 
          1. แรงบิดของโหลด 
          2. จำนวนขั้วของมอเตอร์ 
          3. ความถี่ของแหล่งจ่ายไฟที่ใช้กับมอเตอร์ 
          4. แรงดันที่จ่ายให้กับมอเตอร์ 
         ความเร็วของมอเตอร์สามารถหาได้จากสูตร ดังต่อไปนี้

 

                                    ความเร็วรอบ  N  =  {[120 * ความถี่ f (Hz)] / จำนวนขั้ว P} *  (1-S)

          โดยเทอม 1-S กำหนดโดยโหลด 

        
             จากสูตรข้างต้นจะพบว่า ถ้าความถี่ของแหล่งจ่ายไฟ เปลี่ยนแปลงไปก็มีผลทำให้มอเตอร์ มีความเร็วเปลี่ยนแปลงได้ด้วย แต่เมื่อทำการเปลี่ยนความถี่ โดยให้แรงดันคงที่ จะมีผลทำให้เกิดฟลักส์ แม่เหล็กเพิ่มมากขึ้นจนอิ่มตัว ซึ่งอาจทำให้มอเตอร์ ร้อนจนเกิดความเสียหายได้ ดังนั้นจึงต้องทำการเปลี่ยน แรงดันควบคู่ไปกับความถี่ด้วย  และการที่จะเปลี่ยนแปลง ความถี่ของแหล่งจ่ายไฟ สามารถทำได้โดย การใช้อินเวอร์เตอร์ ซึ่งมีหลักในการทำงานดังรูป

 

         จากรูปข้างต้น แหล่งจ่ายไฟกระแสสลับ จ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ ไปยังคอนเวอร์เตอร์ ซึ่งทำหน้าที่เปลี่ยนไฟฟ้า กระแสสลับให้เป็น ไฟฟ้ากระแสตรง แล้วนำไฟฟ้ากระแสตรง ที่ได้ต่อเป็นอินพุตเข้าไปในวงจรอินเวอร์เตอร์ซึ่งทำหน้าที่เปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงนี้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับที่สามารถเลือกความถี่ได้ เพื่อไปควบคุมมอเตอร์ ให้มีความเร็วตามต้องการได้

         

ในการเลือกขนาดอินเวอร์เตอร์ให้เหมาะสมกับมอเตอร์ จะต้องคำนึงถึงข้อต่างๆ ดังต่อไปนี้


      1. ความสามารถในการขับมอเตอร์ขณะเร่งความเร็ว และความเร็วรอบคงที่  ต้องพิจารณาว่าอินเวอร์เตอร์สามารถจ่ายกระแส ที่มอเตอร์ต้องการได้หรือไม่
      2. ความสามารถในการขับมอเตอร์ขณะลดความเร็ว ในขณะที่ลดความเร็วมอเตอร์จะทำงานเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและคืนพลังงาน กลับไปให้อินเวอร์เตอร์ ดังนั้น อินเวอร์เตอร์ต้องมีความสามารถในการรับคืนและใช้พลังงานนี้ให้หมดไป
      3. การเลือกขนาดอินเวอร์เตอร์ โดยดูจากขนาด และจำนวนมอเตอร์นั้น ให้เลือกอินเวอร์เตอร์ที่มีกระแสพิกัดมากกว่า ผลรวมของกระแสมอเตอร์ทุกตัว
       จุดเด่นของอินเวอร์เตอร์อีกอย่างหนึ่งคือสามารถขับมอเตอร์หลาย ๆ ตัวด้วยอินเวอร์เตอร์เพียงตัวเดียว แต่วิธีการเดินเครื่องบางแบบ อาจต้องเลือกขนาดอินเวอร์เตอร์ที่มีขนาดใหญ่มาก จึงไม่เป็นการประหยัด และเกิดการผิดพลาดในการเลือกขนาดได้ง่ายด้วย อินเวอร์เตอร์ที่ทำงานในโหมดการควบคุมฟลักซ์เวกเตอร์ ไม่สามารถขับมอเตอร์ ได้หลายตัวพร้อมกันจะต้องเปลี่ยนโหมดการควบคุมไปเป็นแบบแรงดันต่อความถี่ เท่านั้น จึงจะขับมอเตอร์ได้หลายตัว

.