ส่วนประกอบต่างๆของสถานีไฟฟ้า 115KV.
เริ่มจากซ้ายมือ Take Off รับไฟ 115 KV. ผ่าน Disconnecting -> Lightning Arrester -> PT -> Circuit Breaker -> Powertransformer -> Control Builting->Risor Pole
1 115kV Equipment in Switchyard 1.2 Disconnecting Switch with ES
2 MV Equipment
3 115/22kV Control & Relay Panel
4 Service Station
7.2 Take-off Beam.
8.5 Control Building M&E and A/C system 8.8 Control Cable Trench with steel plate 8.9 Service Transformer Foundation .
ข้อมูลข้างต้นเป็นรายการอุปกรณ์ ที่ใช้สำหรับติดตั้งการสร้างสถานีไฟฟ้า ส่วนรายละเอียดของอุปกรณ์แต่ละอย่างจะกล่าวถึงภายหลัง
|
การสร้างสถานีไฟฟ้า 115 KV.ทั้งในโรงงาน และของทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อุปกรณ์หลักที่ใช้ติดตั้งส่วนใหญ่จะนำเข้ามาจากต่างประเทศ เช่น GIS , Protection Relay เป็นต้น มีเฉพาะบางอย่างเท่านั้นที่ทำได้ในเมืองไทย เช่น หม้อแปลง ลูกถ้วยต่างๆ เหตุผลคือเทคโนโลยีการผลิตของเรายังพัฒนาได้ไม่เท่ากับต่างประเทศ ราคาจะสูงพอสมควรเลยครับ อุปกรณ์ติดตั้ง ที่จะกล่าวถึง ดังนี้ 1.งานด้าน Incomming 115KV & Outgoing 22KV.
2.งานติดตั้งหม้อแปลง และ หม้อแปลง Service
3.งานติดตั้งตู้ สวิทช์เกียร
4.งานติดตั้งอุปกรณ์ในลานไก
5.งานติดตั้งตู้ ควบคุม Relay
6.งานติดตั้งระบบ SCADA
7.งานติดตั้งระบบดับเพลิง
เนื่องด้วยเวลามีไม่มาก ผมจะขอเขียนเนื้อหาไปทีละส่วนก่อนครับ
|
InDoor Type.เป็นการติดตั้งในลักษณะอยู่ในอาคารทั้งหมด ป้องกันสัตว์ และเศษวัสดุปลิว พาดผ่านได้ดี |
OutDoor Type ส่วนใหญ่นิยมแบบนี้กันเพราะราคาถูกกว่า แต่โอกาสเเกิด Fault สูงกว่า |
Modura Substation หมายถึงสถานีไฟฟ้าชั่วคราว จุดต่อของอุปกรณ์ทุกจุดเป็นแบบ Plug In สามารถถอดเปลี่ยน ย้ายได้ง่าย ทาง PEA จะใช้ทดแทน ก่อนสร้างสถานีไฟฟ้าแบบถาวร |
Incomming 115KV เป็นแบบ Outdoor รายละเอียดอุปกรณ์จะกล่าวถึงในครั้งหน้า |
DuckBank. เป็นวิธีการการวางสายในท่อแล้วเทปูนหุ้มไว้ป้องกันการโดนกระแทก เป็นส่วนที่เชื่อมต่อระหว่าง Incomming กับ หม้อแปลง แต่บางครั้งอาจใช้เป็นเทนส์ก็ได้ |
วิธีการปิดช่องเพื่อป้องกันสัตว์เข้าไป หินก็เป็นส่วนหนึ่งในการป้องกันสัตว์ เพราะหินเวลาถูกแสงแดดจะร้อน และหินมีความคมต่อการเคลื่อนที่ของสัตว์ |
สายเคเบิ้ล เป็นจุดที่สำคัญ ที่ต้องคำนึงถึงเรื่องระยะสาย และวิธีการดึงสาย ถ้าอย่างใดอย่างหนึ่งผิดพลาด จะต้องเริ่มใหม่ทั้งหมด
ส่วนที่เป็นสีขาว เป็นสีทนไฟทาเคลือบเพื่อป้องการสายไฟใหม้ กรณ๊ที่เกิดการระเบิด
ยังมีเรื่องของการเรียงเฟสของสายที่จะกล่าวถึงครั้งต่อไปครับ
|
สรุปว่า จากการติดตั้งอุปกรณ์ Incomming รับไฟ 115 KV เข้าสู่ระบบแปลงไฟ ควบคุมด้วยระบบและอุปกรณ์ป้องกันต่างๆ สุดท้ายออกปลายทางเป็นไฟ 22KV เข้าสู่โรงงาน หรือหมู่บ้านต่างๆ โดยจะมีหม้อแปลงแรงดันจาก 22KV เป็น 220 V. อีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้เราได้ใช้งานกับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่อไป
คำว่า Outgoing หรืออาจเรียกว่า Feeder หมายถึงเส้นทางที่ต้องส่งต่อไปใช้งาน ในแต่ละ Outgoing จะมีชุด Air Circuit Breaker (Switch Gear) อนุกรมด้วย เป็นส่วนสำคัญที่ต้องคำนึงถึงก่อนออกแบบ
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการติดตั้ง
ระยะติดตั้งของเสา Risor Pole ประมาณ 1 เมตรต้องไม่มีวัสดุขวางการสับใบมีด ส่วนเรื่องแนวการติดตั้งใบมีดนั้นที่ทำมา ไม่เหมือนกันครับ บางทีเป็นแนวนอน บางทีเป็นแนวตั้ง หรือเอียง แล้วแต่ผู้ควบคุมงานครับต้องคุยกันให้ดี
ความลึกของเสา Risor และการติดตั้งสายกาย์ การล๊อคสายด้วยตะกร้อร้อยสาย ระยะห่างระหว่างหัวเคเบิ้ลกับใบมีด
เรื่องสุดท้ายคือ การทดสอบ Hipot Test หลักการจะต้องทดสอบถึงชุดล่อฟ้า และต้องทำ AC WithStand เป็นเวลา 24 ชม. ตามมาตราฐาน PEA
รายละเอียดการเข้าหัวเคเบิ้ล จะกล่าวอีกทีในภายหลังครับ |
กำลังปรับปรุง. |